สำรวจสถานภาพแหล่งหญ้าทะเลและสัตว์ทะเลหายากบริเวณเกาะลิบง จ.ตรัง
  • 19 ธ.ค. 2566
  • 655

วันที่ 12-18 ธันวาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ทำการสำรวจสถานภาพหญ้าทะเลและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่เกาะลิบง และบริเวณใกล้เคียง จ.ตรัง โดยวิธี Line transect และบินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึง (Fixed-wings UAV) ผลการสำรวจหญ้าทะเลในพื้นที่รวมทั้งหมด 19,751 ไร่ พบหญ้าทะเลมีการแพร่กระจายทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ หญ้าเงาแคระ หญ้าเงาใบใหญ่ หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าใบมะกรูด หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาปลายใบมน หญ้าชะเงาปลายใบฟันเลื่อย หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล และหญ้าเงาใส ซึ่งพบหญ้าเงาแคระและหญ้ากุยช่ายเข็ม เป็นชนิดเด่นในพื้นที่ สถานภาพหญ้าทะเลโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์เล็กน้อย หญ้าคาทะเลที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะใบขาดสั้นไม่สมบูรณ์ ราก เหง้าเน่าเปื่อย และบางส่วนยืนต้นตาย สัตว์น้ำชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ดาวทราย  ดาวทะเลชนิด Pentaster obtusatus และเหรียญทะเล (Sand Dollar) พื้นทะเลมีลักษณะเป็นทรายปนโคลน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์สถานภาพอย่างละเอียด รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของหญ้าทะเลต่อไป ในส่วนข้อมูลการสำรวจการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลหายาก รวมพื้นที่สำรวจ 35,000 ไร่ เบื้องต้นพบ พะยูน จำนวน 12 ตัว เต่าตนุ จำนวน 90 ตัวและโลมาหลังโหนก จำนวน 15 ตัว โดยพฤติกรรมของสัตว์ทะเล ทั้งสามชนิดที่พบเป็นการเข้ามาหากินในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ดังกล่าว

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง