วันที่ 18 ธันวาคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่6 (พังงา) ได้รับแจ้งจากนายบัณฑิต หลีบำรุง ราษฎรบ้านบ่อดาน ว่าพบร่องรอยเต่าทะเลขึ้นวางไข่บริเวณชายหาดท่าไทร หมู่ที่ 6 ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เจ้าหน้าที่จึงประสานศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน และเข้าตรวจสอบพบร่องรอยเต่าทะเลขึ้นวางไข่ บริเวณ พิกัด 418069 E 924570 N วัดร่องรอยความกว้างพายคู่หน้าได้ 170 ซม. ความกว้างอก 56 ซม. ทำการขุดหาและพบไข่เต่าที่ระดับความลึก 60 ซม. วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไข่ได้ 5.15 มม. ตำแหน่งวางไข่อยู่ในแนวระดับน้ำทะเลสูงสุดและบริเวณใกล้เคียงมีการกัดเซาะชายหาด จึงทำการย้ายไข่ไปฟักห่างจากจุดแม่เต่าวางไข่ 8 เมตร ตรวจนับไข่ได้ทั้งหมด 125 ฟอง ไข่ดี 91 ฟอง ไข่ลม 34 ฟอง จากขนาดร่องรอย ขนาดของไข่ และตำแหน่งวางไข่ พบว่าเป็นการขึ้นวางไข่ของเต่ามะเฟือง จึงจัดทำคอกกั้นชั่วคราวเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากสัตว์เลื้อยคลาน และจะได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์และร่วมกับอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฝ้าระวังดูแลการฟักไข่จนกว่าลูกเต่าฟักและลงสู่ทะเลอย่างปลอดภัย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 55-60 วัน
พบเต่าตนุเกยตื้น พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบลูกเต่าตนุเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
21 กันยายน 2567