วันที่ 18-22 ธันวาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนล่าง ดำเนินการสำรวจ ประเมินสถานภาพและตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ด้วยวิธี Photo ID โดยการใช้เรือประมงเดินเรือขนานแนวชายฝั่งและวิ่งเรือสำรวจตามพื้นที่เคยรับแจ้งและที่เคยพบเจอ ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งของ จ.นครศรีธรรมราช ผลการปฏิบัติงานพบโลมา 2 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin, Orcaella brevirostris) 1 ฝูง จำนวน 4-6 ตัว มีพฤติกรรมว่ายน้ำปกติ อัตราการหายใจ 4-8 ครั้ง/5นาที พบโลมา 1 ตัว มีตุ่ม (Nodule) อยู่บริเวณด้านข้างลำตัว และโลมาหลังโหนก (Indo-pacific humpback dolphin, Sousa chinensis) 1 ฝูง จำนวน 10-12 ตัว เป็นคู่แม่-ลูก 1 คู่ มีพฤติกรรมว่ายน้ำปกติ ไล่ต้อนลูกปลาและมีการว่ายเข้าใกล้เรือ อัตราการหายใจ 6-10 ครั้ง/5 นาที พบรอยฟัน (rake mark) ตามลำตัวซึ่งเกิดจากพฤติกรรมฝูง จากการตรวจสุขภาพโลมาทั้ง 2 ชนิด ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ดี (BCS 3/5) คุณภาพการหายใจปกติโดยจากการแจ้งรายงานการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากของชาวประมงในพื้นที่ชายฝั่ง ทราบว่ามีการพบเจอโลมาอยู่เป็นประจำในช่วงเวลาออกทำการประมง จึงได้ประสานงานชาวประมงในพื้นที่ช่วยกันประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ และแจ้งรายงานการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากต่อไป
ร่วมจับปลาหมอคางดำ พื้นที่ จ.สมุทรสาคร
ร่วมกิจกรรมลงแขกลงคลองจับปลาหมอคางดำ ณ คลองหนองนกไข่ ต.หนองนกไข่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
9 กันยายน 2567