วันที่ 7 มกราคม 2567 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่10 (กระบี่) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน และศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ร่วมกันออกสำรวจและเก็บข้อมูลกรณีมีรายงานพบวาฬโอมูระเผือก (Balaenoptera omurai, Albeno) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ใช้วิธีการสำรวจ 3 แบบ ประกอบด้วย
1) การวิ่งเรือสำรวจด้วยวิธีการวางเส้นแนวสำรวจ (Distance Transect Sampling) โดยใช้เรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 805 (ปะการัง) และเรือของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา เรือตรวจการณ์ 38 ฟุต (พีพี 18) สำรวจบริเวณอ่าวพังงาตอนล่างถึงบริเวณตอนใต้ของเกาะราชาน้อย ครอบคลุมพื้นที่การสำรวจ 400 ตารางกิโลเมตร
2) บินสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับปีกตรึง บริเวณโดยรอบเกาะราชาใหญ่ในรัศมี 8 กิโลเมตร
3) ติดตามและสอบถามข้อมูลการพบเห็นจากภาคการท่องเที่ยวและเรือประมง นอกจากนี้ยังได้มีการประชาสัมพันธ์แนะนำข้อปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยต่อวาฬโอมูระเผือก ผลการปฏิบัติติงานพบวาฬโอมูระลักษณะสีปกติจำนวน 1 ตัว ความยาวประมาณ 9 เมตร มีพฤติกรรมว่ายน้ำค่อนข้างเร็วเพื่อหากิน ยังไม่พบวาฬโอมูระเผือก ระหว่างปฏิบัติงานมีลมค่อนข้างแรง ทะเลมีคลื่นหัวแตกประปราย ระหว่างเส้นทางสำรวจไม่พบการกระทำผิดหรือทำให้เกิดอันตรายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พบเต่าทะเลติดขยะทะเล บริเวณหน้าชายหาดนาใต้ อ.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.ภูเก็ต
พบเต่าหญ้าติดเศษอวน บริเวณหน้าชายหาดนาใต้ อ.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.ภูเก็ต
15 กันยายน 2567