วันที่ 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง โดยวิธี Line-Intercept Transect จำนวน 1 สถานี ได้แก่ เกาะพะลวย ทิศตะวันตก พบว่าน้ำทะเลลึก 1-3 เมตร อุณหภูมิน้ำ 27 องศาเซลเซียส ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) และปะการังวงแหวน (Favia sp.) ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลาสลิดหินเกล็ดวาว (Neopacentrus anabatoides) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาอมไข่ (Cheilodipterus artus) ปลาสลิดหินเทาหางพริ้ว (Neopomacentrus filamentosus) ปลาสลิดทะเลแถบ (Siganus javus) โรคและอาการที่พบในปะการัง ได้แก่ อาการเนื้อเยื่ออักเสบเป็นจุดและปื้นชมพู การชอนไชของเพรียง หอยเจาะบนปะการัง และตะกอนทับบนโคโลนีปะการัง ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) และทากเปลือยปุ่มดำขาว (Phyllidiella pustulosa) ทั้งนี้ไม่พบขยะที่ตกค้างในแนวปะการัง
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567