สำรวจสัตว์ทะเลหายาก พื้นที่ทะเลอันดามันตอนล่าง
  • 14 ก.พ. 2567
  • 428

วันที่ 7- 13 กุมภาพันธ์ 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ได้ดำเนินการสำรวจสัตว์ทะเลหายากโดยใช้อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึง (Fixed-wings Unmanned Aerial Vehicle: Fixed-wings UAV)และวิธีการสำรวจทางเรือ รูปแบบ Line transect ในพื้นที่ จ.สตูลและ จ.ตรัง  โดยจากการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงในพื้นที่ จ.สตูล บริเวณตันหยงอุมา พบพะยูน 3 ตัวและเต่าตนุ 19 ตัว  บริเวณเกาะลิดีพบพะยูน 1 ตัวโลมาหัวบาตรหลังเรียบ 7 ตัว เต่าตนุ 2 ตัว และ จ.ตรัง บริเวณเกาะมุกด์พบพะยูน 4 ตัว เต่าตนุ 75 ตัว รวมพื้นที่การสำรวจทั้งหมด 46,062 ไร่ และทำการสำรวจประเมินสถานภาพและตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายากทางเรือ โดยในพื้นที่จังหวัดสตูล บริเวณตันหยงอุมา พบโลมาหลังโหนกจำนวน 9ตัว และโลมาอิรวดี 5 ตัว เป็นคู่แม่-ลูก 2 คู่ บริเวณเกาะสาหร่ายพบโลมาอิรวดีจำนวน 3 ตัว และบริเวณพื้นที่ตำบลตำมะลังพบโลมาหัวบาตรหลังเรียบจำนวน 3 ตัว และโลมาอิรวดี 4 ตัว จากการประเมินสุขภาพเบื้องต้นพบว่าสุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง เสียงหายใจปกติ ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด โดยในส่วนของข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดสตูลและตรังต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง