วันที่ 14 มิถุนายน 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการประสานงานจากนายสัตวแพทย์กิริน สรพิพัฒน์เจริญ กรณีแจ้งเหตุพบน้ำทะเลเป็นสีน้ำตาลบริเวณศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และทำการสอบถามเพิ่มเติม ทราบว่าพบคราบสีน้ำตาลบนผิวน้ำทะเลบริเวณชายหาดในช่วงเช้า โดยเจ้าหน้าที่ได้สำรวจเบื้องต้น 3 สถานี ได้แก่ หาดสอ.รฝ. ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล(จุดแจ้งเหตุ) และหาดสวนสน โดยสถานีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สภาพน้ำทะเลพบตะกอนสีน้ำตาลเข้มบนผิวน้ำ และมีกลิ่นเหม็น ไม่พบสัตว์น้ำตาย ส่วนหาดสอ.รฝ. และหาดสวนสน สภาพน้ำทะเลพบตะกอนสีน้ำตาลจาง ๆ จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.10-8.16 อุณหภูมิ 33.0-34.0 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30.3-31.0 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 7.70-8.35 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่าสาเหตุเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum ซึ่งแพลงก์ตอนพืชชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ แต่อาจก่อให้เกิดอาการคันและระคายเคืองได้
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567