พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ภูเก็ต
  • 16 มิ.ย. 2567
  • 213

วันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน ได้ปฏิบัติงานภาคสนามบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา และระนอง เพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง รวบรวมตัวอย่างสัตว์พื้นทะเล ภายใต้โครงการศึกษาการติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งสิ้น 20 สถานี และรวบรวมตัวอย่างตะกอนดินและน้ำทะเลสำหรับวิเคราะห์ไมโครพลาสติกและขยะทะเล จำนวน 3 สถานี ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน มีค่าดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 30.0-31.6 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30-33 พีพีที ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.83-8.16 และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 5.43-8.39 มิลลิกรัมต่อลิตร สัตว์พื้นทะเลที่พบเบื้องต้นเป็นกลุ่ม Polychaete, Crustacean, Mollusc  ซึ่งเป็นสัตว์ที่พบอาศัยได้ทั่วไปบริเวณระบบนิเวศหาดทราย-หาดทรายปนโคลน สภาพดินดีไม่มีกลิ่น และยังพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณหาดป่าตอง เบื้องต้นพบว่าแพลงก์ตอนที่เป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม สกุล Chaetoceros spp. และกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุล Trichodesmium erythraeum Ehrenberg ex Gomont ส่วนปัจจัยอื่นๆ จะทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และจะทำการเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง