วันที่ 19-23 มิถุนายน 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง พร้อมด้วยเจ้าหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ได้ร่วมออกปฏิบัติงานสำรวจ ประเมินสถานภาพของหญ้าทะเลโดยวิธีวาง Line transect และ Spot check พร้อมสำรวจความหลากหลายของสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณบ้านปากบาราและกลุ่มเกาะลิดี จ.สตูล ผลการสำรวจสถานภาพหญ้าทะเลในพื้นที่หญ้าทะเลรวมทั้งหมด 705 ไร่ บริเวณบ้านปากบารา 177 ไร่ พบหญ้าทะเลจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) และหญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) หญ้าทะเลชนิดเด่นในพื้นที่ คือ หญ้าเงาแคระ สถานภาพโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์เล็กน้อย บริเวณกลุ่มเกาะลิดี 528 ไร่ พบหญ้าทะเลจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis) ,หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia), หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis), และหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) หญ้าทะเลชนิดเด่นในพื้นที่ คือ หญ้าใบมะกรูดและหญ้ากุยช่ายเข็ม สถานภาพโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์เล็กน้อย สัตว์น้ำชนิดเด่นที่พบบริเวณแหล่งหญ้าทะเลในทั้งสองพื้นที่ คือ ปลิงดำ (Holothuria atra) กลุ่มปลาชนิดเด่น ได้แก่ ปลาแป้นตัวเรียว Leiognathus stercorarius และปลาบู่ (acentrogobius sp.) คุณภาพน้ำ ความลึก 0.1 - 3 เมตร อุณหภูมิ 29-31 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31 พีพีที ความเป็นกรด - ด่าง 7.8-8.1 ขยะทะเลในแหล่งหญ้าทะเลที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ถุงพลาสติก
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567