วันที่ 25 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบน และศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน ร่วมกับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ศึกษาวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการสูญเสียออกซิเจนละลายในน้ำทะเลชายฝั่งอ่าวไทยเพื่อสนับสนุนโปรแกรม Coastal-SOS ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติเพื่อการเข้าสู่ศตวรรษแห่งสมุทรศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2564-2573 งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ดำเนินการตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเล เก็บข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ เก็บตัวอย่างน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืชพื้นที่ปากแม่น้ำ และอ่าวไทยตอนใน รวมจำนวน 101 สถานี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีในน้ำทะเล มวลชีวภาพ สภาวะพร่องออกซิเจนในน้ำ และปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน จากการสำรวจพบปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐานโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยพบค่าออกซิเจนละลายต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลฯ (กรมควบคุมมลพิษ, 2564) บางสถานีที่สำรวจ และพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชชนิด Noctiluca scintillans เป็นบริเวณกว้างนอกชายฝั่ง จ.ชลบุรี จ.สมุทรปราการ และ จ.สมุทรสาคร ผลการวิเคราะห์จะนำไปประมวลผล เพื่อประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลต่อไป
ตรวจสอบกรณีเรือเกยตื้น พื้นที่ จ.ระยอง
ไม่พบการรั่วไหลของน้ำมันจากกรณีเรือเกยตื้น พื้นที่เกาะไม้ซี้ ต.เกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
19 กันยายน 2567