วันที่ 10-19 กรกฎาคม 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง โดยวิธี Line-Intercept Transect บริเวณเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี (อ่าวหาดยาว อ่าวแม่หาด-เกาะคอม้า อ่าววกตุ่ม บ้านใต้ แหลมหาดริ้น อ่าวหาดคม เกาะกงนุ้ย) สภาพทั่วไป น้ำลึก 3-7 เมตร อุณหภูมิน้ำ 30 องศาเซลเซียส ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ตัวอ่อนปะการังที่พบ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.) ปะการังจาน (Turbinaria spp.) ปลาที่พบในแนวปะการัง เช่น ปลาสลิดหินเทาหางพลิ้ว (Neopomacentrus filamentosus) ปลาสลิดหินเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลากล้วยหางเหลือง (Caesio cuning) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาทรายขาวเกล็ดเงิน (Scolopsis margaritifer) อย่างไรก็ตามยังไม่พบปลาหมอคางดำในแนวปะการัง ส่วนโรคและอาการที่พบในปะการัง ได้แก่ ปะการังฟอกขาว จุดชมพูบนปะการังโขด เพรียงและหอยเจาะตัวปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็งและปะการังโขด สัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) หอยมือเสือ (Tridacna squamosa) ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) จากการสำรวจพบว่า ปะการังมีการฟอกขาว 15% สีซีดจาง 45% ตายจากการฟอกขาว 10% ปะการังปกติ 30% พบปะการังวัยอ่อนมีฟอกขาวบาง ได้แก่ ปะการังเขากวางและปะการังช่องเหลี่ยม ทั้งนี้ปะการังเริ่มฟื้นตัวจากการฟอกขาว พบขยะตกค้างในแนวปะการังส่วนใหญ่จากกิจกรรมทางการประมง เช่น เศษอวน เชือก และได้ทำการเก็บเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ยึดเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย พื้นที่ทะเล จ.สงขลา
ยึดโพงพาง 5 ปาก เรือยนต์ประมงหางยาว 2 ลำ บริเวณปากร่องน้ำสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา
13 กันยายน 2567