วันที่ 6-7 สิงหาคม 2567 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบน สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณอ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม และ จ.เพชรบุรี พบสัตว์ทะเลหายาก 2 ชนิด ได้แก่ โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin: Orcaella brevirostris) จำนวน 8 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร และจำนวน 15 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสงคราม วาฬบรูด้า (Bryde’s whale: Balaenoptera edeni) จำนวน 4 ตัว ได้แก่ แม่วันสุขและเจ้าความสุข เจ้าสายฝน และวาฬไม่ทราบชื่อ บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร ระยะห่างจากฝั่ง 15 กิโลเมตร และได้รับแจ้งการพบเห็นวาฬบรูด้า จำนวน 2 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.เพชรบุรี โดยสามารถดำเนินการตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าที่สำรวจพบ จำนวน 3 ตัว พบส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ร่างกาย (Body Condition Score: BCS) อยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ พบรอยโรค Tattoo Skin Disease (TSD) บนผิวหนังวาฬบรูด้า 3 ตัว ทั้งนี้ ได้ดำเนินการปล่อยเต่าทะเลเกยตื้นที่รักษา และฟื้นฟูสุขภาพเรียบร้อยแล้วคืนสู่ธรรมชาติ จำนวน 2 ตัว
จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน พื้นที่ จ.เพชรบุรี
จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ณ ต.บางตะบูนออก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
18 กันยายน 2567