สำรวจพบโลมาหลายชนิด โดยรอบเกาะใหญ่น้อยทะเลสตูล
  • 25 ธ.ค. 2564
  • 211

วันที่ 24 ธันวาคม 2564 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนล่าง สำรวจประเมินสถานภาพสัตว์ทะเลหายากและติดตามตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้นจากการสังเกตระยะไกล (Far inspection) ด้วยสายตาและภาพถ่าย (Photo identification) โดยวิธีการสำรวจทางเรือและสำรวจทางอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) บริเวณเกาะสาหร่าย เกาะตันหยงอุมา เกาะเกวใหญ่ เกาะเกวเล็ก เกาะเปลากอ เกาะเปลาออ เกาะตีกาเล็ก เกาะกวาง เกาะยาว เกาะตะรุเตา และเกาะลิดีใหญ่ จ.สตูล พบโลมาทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ (1) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific Humpback Dolphin) พบบริเวณเกาะตะรุเตาและเกาะตีกาเล็ก 17 ตัว มีคู่แม่ลูก 2 คู่ (2) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise) พบบริเวณเกาะเปลากอ และเกาะเกวเล็ก 30 ตัว (3) โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin) พบบริเวณเกาะเปลากอ เกาะเกาะยาบัง และเกาะตำมะลัง 28 ตัว ผลการประเมินสุขภาพ พบว่าโลมาทั้ง 3 ชนิดมีสุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง อัตราการหายใจ 3-5 ครั้งต่อ 5 นาที เสียงหายใจปกติ ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด พฤติกรรมส่วนใหญ่คือ หาอาหาร ว่ายน้ำ กระโดด และพฤติกรรมคู่แม่ลูกว่ายเคียงกัน สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับโลมาหลังโหนกที่สำรวจพบนี้จะมีการระบุตัวตนเพื่อนำไปคำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของโลมาหลังโหนกในบริเวณนี้ต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง