สำรวจความสมบูรณ์แนวปะการัง รอบทะเลเกาะไม้ท่อน
  • 25 ธ.ค. 2564
  • 35

วันที่ 24 ธันวาคม 2564 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน สำรวจติดตามระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณเกาะไม้ท่อน และเกาะแอว จ.ภูเก็ต ผลการสำรวจไม่พบปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเล 28 องศาเซลเซียส แนวปะการังเกาะไม้ท่อนมีสภาพสมบูรณ์ดี ส่วนเกาะแอวมีสภาพเสียหาย ปะการังที่พบโดยทั่วไป เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea microphthalma) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังดาวช่องเหลี่ยม (Leptastrea spp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังดอกเห็ด (Fungia spp.) ปะการังดอกกระหล่ำ (Pocillopora damicornis) การลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.) ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังเคลือบหิน (Podabacia spp.) ปะการังดาวเหลี่ยม (Leptastrea spp.) และปะการังวงแหวน (Favia spp.) โรคปะการังที่พบส่วนใหญ่จะพบโรคจุดขาว และโรคเนื้องอกสีชมพูในปะการังโขด (Porites spp.) รวมถึงการทับถมของตะกอนเป็นบางส่วน การปกคลุมของสาหร่ายสีเขียว ฟองน้ำ และเห็ดทะเล (corallimorph) อีกทั้งยังมีรอยกัดกินของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคได้ ปลาชนิดเด่นได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) ปลาสลิดหินสีน้ำตาล (Chromis cinerascens) ปลาสลิดหินลายนกยูง (Pomacentrus pavo) ปลากระดี่ทะเลครีบทอง (Pempheris schwenkii) ปลาสลิดหินเหลืองมะนาว (Pomacentrus moluccensis) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบ เช่น เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) หอยมือเสือ (Tridacna crocea) เม่นดำหนามสั้น (Echinotrix calamaris) ปลิงกาฟิวล์ (Pearsonothuria graeffei) และทากทะเล (Nudibranch) สำหรับขยะทะเลที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากการทำประมง เช่น เศษอวน ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ทั้งนี้ได้บันทึกพิกัด GPS พื้นที่ที่สำรวจแนวปะการัง เพื่อใช้ในการสำรวจติดตามต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง