สำรวจโลกใต้ทะเลแนวปะการังกองหินอีแต๋น เขาหน้ายักษ์
  • 23 เม.ย. 2565
  • 29

วันที่ 22 เมษายน 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน สำรวจระบบนิเวศแนวปะการังกองหินอีแต๋น เขาหน้ายักษ์ และหาดท้ายเหมือง จ.พังงา ผลการสำรวจไม่พบการเกิดปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเลวัดได้ 29 องศาเซลเซียส แนวปะการังมีสภาพเสียหายถึงสมบูรณ์ดี ปะการังที่พบโดยทั่วไป เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังกาแล็คซี่ (Galaxea fascicularis) และปะการังวงแหวน (Favia spp.) การลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังดาวเหลี่ยม (Leptastrea spp.) โรคปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น โรคจุดขาว และโรคเนื้องอกสีชมพูในปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea sp.) พบตะกอนแขวนลอยเล็กน้อย รวมถึงมีการปกคลุมเห็ดทะเล (corallimorph) อีกทั้งยังมีรอยกัดกินและการเจาะไชของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคได้ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบ เช่น เม่นรู (Echinostrephus molaris) ดาวทะเล (Linckia laevigata) ปูจิ๋วปะการัง (Trapeziidae) กุ้งหางงอน (Thor ambionensis) และทากทะเล (Nudibranch) ชนิดต่างๆ ขยะในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากการทำประมง เช่น เศษอวน เชือก ขวดแก้ว และสายเส้นเอ็นตกปลา ซึ่งขยะบางส่วนปะการังได้เคลือบปกคุลมแล้ว ทั้งนี้ได้บันทึกพิกัด GPS พื้นที่ที่ดำเนินการสำรวจแนวปะการัง เพื่อใช้ในการสำรวจติดตามต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง