พาสำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการังใต้ทะเลปะทิว จ.ชุมพร
  • 20 พ.ค. 2565
  • 805

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect และวาง ARMs และ CAUs ศึกษาสิ่งมีชีวิตใน ARMs และ CAUs ในทะเล อ.ปะทิว จ.ชุมพร ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ระดับน้ำทะเลลึกประมาณ 2-5 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 29 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30 ppt. ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 2-3 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) ปะการังสมองใหญ่ (Symphyllia sp.) ปะการังวงแหวน (Favia sp.) ปะการังสมองร่องยาว (Platygyra sp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปลาที่พบแนวปะการังได้แก่ ปลาสลิดหินหางขลิบดำ (Chromis trnatensis) ปลากะรังบั้ง (Cephalopholis boenak) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาอมไข่แก้มขีดแดง (Archamia ataenia) ปลาอมไข่เขี้ยวใหญ่ (Cheilodipterus macrodon) ปลาผีเสื้อแปดขีด (Chaetodon octofasciatus) ปลากะรังลายเส้นฟ้า (Cephalopholis formosa) ปลานกขุนทองลายจุด (Halichoeres argus) ปลาทรายขาวเส้นขาว (Scolopsis ciliata) ปลาสลิดหินหางพลิ้วธรรมดา (Neopomacentrus cyanomos) โรคปะการังที่พบ ได้แก่ การกัดกินก้อนปะการังของปลา อาการผิดปกติของเม็ดสีโคโลนีปะการัง เช่น จุดชมพูบนปะการังโขด และเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติบนปะการังจาน ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) นอกจากนี้ ยังพบขยะในแนวปะการัง

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง