วันที่ 17 มิถุนายน 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง บริเวณแหลมเขาคอกวาง เกาะพะลวย ด้านตะวันตก และเกาะพะลวยด้านใต้ จ.สุราษฎร์ธานี โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect วิธี Profile และสำรวจประเมินสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง ผลการสำรวจที่ระดับน้ำทะเลลึก 1-2 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 31 องศาเซลเซียส ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 1-3 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด(Porites lutea) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังลายดอกไม้(Pavona sp.) ปะการังจาน(Turbinaria sp.) ปะการังช่องเล็ก(Montipora sp.) ปะการังวงแหวน(Favia sp.) ปะการังสมองใหญ่(Symphyllia sp.) ปะการังสมองร่องยาว(Platygyra sp.) ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลาสลิดหินหางพริ้ว (Neopomacentrus anabatoides) ปลาสลิดหินหางพริ้วธรรมดา(Neopomacentrus cyanomos) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาอมไข่ (Cheilodipterus artus) ปลากล้วยหางเหลือง (Caesio cuning) ปลาสลิดทะเลแถบ (Siganus javus) ปลาทรายขาวคอขาว (Scolopsis vosmeri) ปลาอมไข่เส้นบาง (Apogon lateralis) ความผิดปกติของโคโลนีปะการังที่พบ เช่น ความผิดปกติของเม็ดสีเป็นจุดชมพู เพรียงไชในตัวปะการัง นอกจากนี้พบปะการังเริ่มมีสีซีด เนื่องจากช่วงนี้น้ำลงต่ำ ทำให้ปะการังโผล่พ้นน้ำ และอุณหภูมิน้ำทะเลค่อนข้างสูง ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) ทากเปลือยทองหยิบ (Doriprismatica atromarginata) และพบขยะในแนวปะการัง เช่น เศษอวน และเชือกท
