วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อันดามันตอนบน รายงานผลการชันสูตรซากโลมาหลังโหนก ที่ได้รับแจ้งจากเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากพบซากโลมาเกยตื้นบริเวณ สะพานท่ายาง ต.ม่วงกลาง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ได้ประสานเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 เข้าพื้นที่ตรวจสอบและประสานนำส่งซากโลมาดังกล่าวมาชันสูตร ณ ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ศวอบ. ผลการชันสูตรพบเป็น โลมาหลังโหนก เพศเมีย ความยาวลำตัว 223 เซนติเมตร น้ำหนัก 111 กิโลกรัม โตเต็มวัย ความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในระดับปกติ สภาพซากเน่า พบลิ้นหัวใจมีความยืดหยุ่นน้อยลงและพื้นผิวขรุขระ ซึ่งคาดว่าเป็นความเสื่อมตามอายุขัย ปอดพบการอักเสบ กระเพาะพบบาดแผลเงี่ยงกระเบนแทงทะลุซึ่งเกิดการสมานแผลแล้วรวมทั้งพบอาหารตามธรรมชาติเล็กน้อยจำพวกหมึก และต่อมน้ำนมพบการอักเสบรุนแรง จึงสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของโลมาว่าเกิดจากอาการป่วยตามธรรมชาติโดยมีสาเหตุโน้มนำจากความเสื่อมตามอายุขัย โดยเจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากซากโลมาเพื่อวินิจฉัยสาเหตุการป่วยเพิ่มเติมต่อไป
พบเต่าทะเลเกยตื้น พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบเต่าตนุเกยตื้น บริเวณหน้าหาดโรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
7 กันยายน 2567