วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง ได้รับแจ้งเหตุพบปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณหาดทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร และได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบ โดยเบื้องต้นพบน้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียว เป็นริ้วสายยาวตลอดแนวชายหาด ไม่พบสัตว์น้ำตาย จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลบริเวณหาดทุ่งวัวแล่น จำนวน 3 สถานี พบปริมาณสารอาหาร (ไนเตรท ฟอสเฟต และแอมโมเนีย) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดแพลงก์ตอนสะพรั่งในครั้งนี้ คุณภาพน้ำมีค่าโดยสรุปดังนี้ อุณหภูมิ 29.25 – 29.30 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30 ppt ความเป็นกรดด่าง 8.21 – 8.31 ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 4.62 – 5.31 mg/l ไนไตร์ท 0.262 – 0.35 µg-atN/L ไนเตรท 1.723 – 2.571 µg-atN/L แอมโมเนีย 11.164 – 17.898 µg-atN/L ฟอสเฟต 3.343 – 6.966 µg-atP/L จากการจำแนกชนิดพบว่าการเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดจากแพลงก์ตอนพืช กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่สร้างสารชีวพิษ ความหนาแน่น 4,308 – 6,837 cell/l
พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ระยอง
พบสภาพน้ำมีสีน้ำตาล ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น พบสัตว์น้ำตายเล็กน้อย บริเวณคลองน้ำหู อ.เมือง จ.ระยอง
14 กันยายน 2567