วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก ได้รับรายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี จาก ดร.วิชญา กันบัว และ ผศ.ดร. ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บริเวณชายฝั่งทะเลแหลมแท่น จ.ชลบุรี จากการสำรวจพบการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Scrippsiella spp. บริเวณสะพานแหลมแท่น มีความหนาแน่นเท่ากับ 376,562 เซลล์ต่อลิตร ส่งผลให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี โดยมีลักษณะสีน้ำตาลเหลือง และบริเวณสวนสาธารณะหาดวอน สีน้ำทะเลปกติ พบความหนาแน่น 37,312 เซลล์ต่อลิตร นอกจากนี้ยังพบสกุล Karenia spp. ในตัวอย่างด้วยเช่นกัน และเมื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น บริเวณสถานีสะพานแหลมแท่น พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งประเภท 4 เพื่อการนันทนาการ สามารถทำกิจกรรมทางน้ำได้ตามปกติ โดยมีค่าออกซิเจนละลายน้ำเท่ากับ 7.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเค็มเท่ากับ 29.2 ppt ค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 8.35 และค่าอุณหภูมิของน้ำเท่ากับ 28.7 องศาเซลเซียส
พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ระยอง
พบสภาพน้ำมีสีน้ำตาล ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น พบสัตว์น้ำตายเล็กน้อย บริเวณคลองน้ำหู อ.เมือง จ.ระยอง
14 กันยายน 2567