วันที่ 6 ธันวาคม 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก รายงานผลการตรวจสอบซากพะยูน บริเวณหน้า อ.สัตหีบ ต.สัตหีบ จ.ชลบุรี พบเป็นพะยูนเพศเมีย ซากมีความยาวแนบลำตัว 2.68 เมตร อยู่ในช่วงอายุโตเต็มวัย สภาพซากเน่ามาก (decomposition score 3/5) คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายดี (body condition score 3/5) สภาพภายนอก พบแผลรอยฟันเก่าจากสัตว์ชนิดอื่น ไม่พบบาดแผลขนาดใหญ่ภายนอก พบการช้ำใต้ผิวหนังด้านซ้ายของลำตัวเป็นบริเวณกว้างไปจนถึงด้านขวาเล็กน้อย พบลิ่มเลือดจำนวนมากแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อผนังช่องท้อง บ่งบอกการกระแทกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาดและมีเลือดออกจำนวนมาก พบกระดูกซี่โครงด้านซ้ายหักเป็นแนวยาวตั้งแต่ซี่ที่ 2 จนถึงซี่โครงลำดับสุดท้าย ส่วนด้านขวาซี่โครงหักบริเวณกลางท่อนจำนวน 3 ซี่ และแนวรอยต่อระหว่างกระดูกสันอกและซี่โครงหลุดจากกัน อวัยวะภายในเกิดการแปรสภาพทั้งหมด ตลอดทางเดินอาหารพบอาหารพวกหญ้าทะเลจำนวนมาก ประมาณ 3-4 กิโลกรัม แสดงถึงพะยูนสามารถกินอาหารได้ดี สภาพซากเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 2-3 วัน จากสภาพบ่งชี้เป็นการถูกกระแทกในขณะยังมีชีวิต ซึ่งคาดว่าพะยูนได้รับอุบัติเหตุถูกกระแทกอย่างรุนแรงจากของไม่มีคม ทำให้เกิดกระดูกหักและเสียชีวิต
พบเต่าทะเลเกยตื้น พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบเต่าตนุเกยตื้น บริเวณหน้าหาดโรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
7 กันยายน 2567