วันที่ 13 ธันวาคม 2565 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง สำรวจสถานภาพแนวปะการัง โดยวิธี Line intercept transect บริเวณเกาะยา จ.ตรัง ผลการสำรวจพบว่าสถานภาพอยู่ในระดับสมบูรณ์ปานกลาง ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) และปะการังวงแหวน (Dipsastraea sp.) ตัวอ่อนปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังวงแหวนกับปะการังโขด และพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสีของปะการัง (Pigmentation response) และการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อม ได้แก่ ปะการังฟอกขาว เป็นจุด เส้น และรูปแบบไม่แน่นอน (Focal Bleaching and Non Focal Bleaching) กลุ่มปลาชนิดเด่น ได้แก่ ปลากล้วยฟ้าหลังเหลือง (Caesio xanthonota) ปลาสลิดหินเล็กท้ายเหลือง (Neopomacentrus cyanomos) ปลาสลิดทะเลจุดขาว (Siganus canaliculatus) และปลาการ์ตูนอินเดียแดง (Amphiprion akallopisos) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดเด่น ได้แก่ กลุ่มหอยมือหมี ดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และทากเปลือยชนิด Phyllidiella pustulosa นอกจากนี้ พบขยะประเภทเศษอวนและเชือกคลุมปะการังบางส่วน
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567