สำรวจสถานภาพชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมวงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 21 ธ.ค. 2565
  • 47

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่9 (ปัตตานี) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานภาพชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมวงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประจำปี ตามประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 3 (77/2565) ฉบับที่ 6 (80/2565) และฉบับที่ 7 (81/2565) เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย  บริเวณพื้นที่ชายฝั่งแหลมโพธ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด จากการสำรวจพบว่า แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปะทะของคลื่นลมที่กระทบต่อชายฝั่ง ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและมีผลต่อความเสียหายชีวิตและทรัพย์สินอย่างรุนแรง ได้แก่ พื้นที่บ้านตะโละสะมิแล ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่น (Sea wall) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ความยาวประมาณ 920 เมตร เป็นโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะถนนทางหลวงชนบทสาย 2062 ทางด้านทิศเหนือระยะประมาณ 250 เมตร และพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ ทั้งบริเวณหาดตะโละกาโปร์ และพื้นที่บ้านปาตา ม.1 ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยทั้ง 2 พื้นที่ เป็นแหล่งชุมชนชายฝั่งที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและมีสิ่งปลูกสร้างประชิดชายฝั่ง ทำให้ได้รับผลกระทบของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งอย่างรุนแรง พร้อมทั้งได้ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลของโครงสร้างป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะประเภทโครงการ กำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด/เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ ตามหนังสือกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ส่วนแผนบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ด่วน ที่ 1404/ว776 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 โดยพื้นที่ชายฝั่งแหลมโพธิ์มีจำนวน 3 จุด พบว่า บางช่วงมีการชำรุดของโครงสร้างในลักษณะของหินที่มีการไหลลงทะเล และการทรุดตัวของกองหินจากการกัดเซาะของร่องน้ำหลังโครงสร้างฯ แต่โครงสร้างฯ ส่วนใหญ่ยังมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของโครงสร้างเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และพบว่าหลังโครงสร้างฯ มีการสะสมของตะกอนทรายที่เกิดจากการกระโจมของคลื่นบนถนนอีกด้วย ทั้งนี้ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะดำเนินการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเล เพื่อวิเคราะห์และจัดทำรายงานฯ ต่อกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง

จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต จ.ฉะเชิงเทรา
วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่2 (ชลบุรี) ร่วมกับบริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต T-VER มาตรฐานขั้นสูง ณ อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีผู้นำชุมชนและตัวแทนราษฎรในพื้นที่ จำนวน 50 คน เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงเพื่อรับทราบถึง ความสำคัญและความเป็นมา รวมทั้งขอบเขตพื้นที่ดำเนินงานและแผนการดำเนินงาน ตลอดจนประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ท้องที่ หมู่ที่ 14 บ้านคลองผีขุด ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่จำนวน 100.56 ไร่
26 พฤษภาคม 2566
ดูเพิ่มเติม
กรม ทช. ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ําฯ ครั้งที่ 2/2566
วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 รองอธิบดีอภิชัย เอกวนากุล ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ํา และคณะทํางานขับเคลื่อนการจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำ ครั้งที่ 2/2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Application) ณ ห้องประชุมศูนย์อำนวยการพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชั้น 8 กรม ทช. โดยมีนางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้ ได้มีคณะกรรมการ คณะทำงาน และผู้แทนจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แจ้งเพื่อทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำและคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำ และข้อมูลการจัดทำธนาคารขยะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารขยะในพื้นที่อื่นๆ ตลอดจนการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักการขยายความรับผิดชอบไปยังผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility, EPR) การจัดทำข้อมูลรายละเอียดการขออนุญาตขนถ่ายขยะข้ามเขตพื้นที่ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ (Upcycle) ในการนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี (Roadmap) และความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำ รวมถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมวันทะเลโลกเพื่อเปิดตัวผู้รับผิดชอบแม่น้ำ 2 สายบริเวณอ่าวไทยตอนบน พร้อมทั้ง พิจารณา (ร่าง) คำสั่งปรับปรุงคณะกรรมการบริหารจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำและคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทะเลอย่างมีส่วนร่วมบริเวณปากแม่น้ำ อีกด้วย
26 พฤษภาคม 2566
ดูเพิ่มเติม