สำรวจสถานภาพชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมวงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 21 ธ.ค. 2565
  • 581

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่9 (ปัตตานี) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานภาพชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมวงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประจำปี ตามประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 3 (77/2565) ฉบับที่ 6 (80/2565) และฉบับที่ 7 (81/2565) เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย  บริเวณพื้นที่ชายฝั่งแหลมโพธ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด จากการสำรวจพบว่า แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปะทะของคลื่นลมที่กระทบต่อชายฝั่ง ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและมีผลต่อความเสียหายชีวิตและทรัพย์สินอย่างรุนแรง ได้แก่ พื้นที่บ้านตะโละสะมิแล ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่น (Sea wall) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ความยาวประมาณ 920 เมตร เป็นโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะถนนทางหลวงชนบทสาย 2062 ทางด้านทิศเหนือระยะประมาณ 250 เมตร และพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ ทั้งบริเวณหาดตะโละกาโปร์ และพื้นที่บ้านปาตา ม.1 ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยทั้ง 2 พื้นที่ เป็นแหล่งชุมชนชายฝั่งที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและมีสิ่งปลูกสร้างประชิดชายฝั่ง ทำให้ได้รับผลกระทบของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งอย่างรุนแรง พร้อมทั้งได้ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลของโครงสร้างป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะประเภทโครงการ กำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด/เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ ตามหนังสือกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ส่วนแผนบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ด่วน ที่ 1404/ว776 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 โดยพื้นที่ชายฝั่งแหลมโพธิ์มีจำนวน 3 จุด พบว่า บางช่วงมีการชำรุดของโครงสร้างในลักษณะของหินที่มีการไหลลงทะเล และการทรุดตัวของกองหินจากการกัดเซาะของร่องน้ำหลังโครงสร้างฯ แต่โครงสร้างฯ ส่วนใหญ่ยังมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของโครงสร้างเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และพบว่าหลังโครงสร้างฯ มีการสะสมของตะกอนทรายที่เกิดจากการกระโจมของคลื่นบนถนนอีกด้วย ทั้งนี้ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะดำเนินการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเล เพื่อวิเคราะห์และจัดทำรายงานฯ ต่อกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง