วันที่ 20-22 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ติดตามตรวจสอบระบบนิเวศชายหาดและศึกษาสิ่งมีชีวิตในพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ผลการตรวจสอบดังนี้
🔹 หาดทรายแก้ว มีแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวชายหาด ไม่มีระบบนิเวศหาดทรายตลอดแนวเขื่อน บริเวณสิ้นสุดโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ชายหาดที่มีแนวต้นสน พบการกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะ 200 เมตร และพื้นที่ถูกกัดเซาะลึกเข้ามามากกว่าเดิมประมาณ 30 เมตร เมื่อเทียบกับการกัดเซาะในปีที่ผ่านมา และยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกคลื่นซัดขึ้นมาทับถมตลอดแนวชายหาด พบสิ่งมีชีวิตกลุ่มหอยเสียบและจักจั่นทะเลน้อยมาก
🔹 หาดม่วงงาม พื้นที่หน้าหาดเป็นแนวหาดทรายกว้าง 27-30 เมตร แม้ว่าในปัจจุบันไม่มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในพื้นที่นี้แล้ว แต่ก็ยังคงพบแนวเหล็กที่หลงเหลือจากการก่อสร้างเดิมให้เห็นอยู่ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายกลุ่มหอยเสียบและจักจั่นทะเลมีปริมาณใกล้เคียงกับพื้นที่นอกเขตก่อสร้าง พบขยะทะเลจำนวนมาก
🔹 หาดมหาราช ด้านหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งมีสภาพเป็นชายหาดกว้าง 15-20 เมตร เป็นหาดทรายละเอียด ไม่พบเศษหินตกค้างจากการก่อสร้าง บริเวณสิ้นสุดโครงการพบชายหาดถูกกัดเซาะลึกเข้าไปประมาณ 5 เมตร พบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายใกล้เคียงกับพื้นที่นอกเขตก่อสร้าง พบเศษโฟมและอุปกรณ์ประมงจำนวนมาก
ติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ จ.จันทบุรี
พบการสะสมตัวของตะกอน การกระจายตัวของป่าชายเลน และชายหาดมีสภาพสมดุล พื้นที่หาดแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
1 กันยายน 2567