วันที่ 4 มกราคม 2566 กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงาน ทช.ที่5 (สงขลา) ลงพื้นที่ระบบหาดหาดหินงาม (T6A148) อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช จากกรณีนายชาติชาย ใจห้าว ประชาชนในพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้เสนอผลการทดลองนวัตกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ผ่านเว็บไซต์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างหินเรียงรูปเกือกม้าขนาดเล็ก ขนาดความกว้างประมาณ 3-5 เมตร สูง 0.20 เมตร โดยการติดตั้งโครงสร้างเกือกม้าระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 150 เมตร จำนวน 10 ชุด ห่างจากชายฝั่ง 10-15 เมตร มีลักษณะคล้ายเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบจมน้ำ ติดตั้งแบบสลับฟันปลา แต่ละตัวห่างกัน 70-100 เมตร ติดตั้งมาแล้ว 4 ปี ซึ่งผู้ทดลองเชื่อว่าสามารถเพิ่มปริมาณทรายบนชายหาด และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมดังกล่าวยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ชัดเจนว่าสามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น คลื่น ลม กระแสน้ำ สภาพพื้นท้องทะเล ฯลฯ โดยปัจจุบันโครงสร้างเกือกม้าถูกทรายทับถมจนไม่เห็นโครงสร้างดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ส่วนวิศวกรรมชายฝั่งเสนอให้ผู้ทำการทดลองติดตั้งเสาวัดตะกอนบริเวณโครงสร้างรูปเกือกม้า เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณทราย โดยจะประสานงานและติดตามผลการทดลองต่อไป
ติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ จ.จันทบุรี
พบการสะสมตัวของตะกอน การกระจายตัวของป่าชายเลน และชายหาดมีสภาพสมดุล พื้นที่หาดแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
1 กันยายน 2567