วันที่ 4-6 มกราคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ทำการออกสำรวจติดตามและเฝ้าระวังพะยูนเกยตื้นมีชีวิต ณ บริเวณบ้านปากคลอง-บ้านแหลมมะขาม ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งได้รับแจ้งจากนายสำเนียง ทุ่งยอ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ตำบลเขาไม้แก้ว เรื่องชาวประมงพบเห็นพะยูนมีชีวิตมีบาดแผลที่บริเวณหลังและว่ายน้ำผิดปกติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 เวลาประมาณ 15.00 น. ณ บริเวณปากคลองบ้านแหลมมะขาม ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง เจ้าหน้าที่ศวอล.เข้าตรวจสอบติดตามในพื้นที่ จากการสอบถามชาวประมงในพื้นที่ยังไม่พบพะยูนลักษณะผิดปกติดังกล่าว และจากการสำรวจทางอากาศโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) พบพะยูนจำนวนทั้งหมด 9 ตัว เป็นพะยูนขนาดโตเต็มวัยจำนวน 8 ตัว และพะยูนวัยเด็ก 1 ตัว บริเวณแนวหญ้าทะเลบ้านปากคลอง ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่และอยู่ในพื้นที่นอกแนวเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยการสังเกตระยะไกลพบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมกินหญ้าทะเลและลักษณะการทรงตัวว่ายน้ำปกติ อัตราการหายใจ 3-5 ครั้ง/5 นาที พบพะยูน 1 ตัว มีรอยบาดแผลที่หลังจากรอยเขี้ยวซึ่งเกิดจากพฤติกรรมภายในฝูงของพะยูน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ศวอล.ได้ประสานกับเครือข่ายชาวประมงในพื้นที่ให้ช่วยเฝ้าระวังและแจ้งเหตุทันทีกรณีที่พบพะยูนเกยตื้นมีชีวิตเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือและจัดการต่อไป
พบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดคลองนิน จ.กระบี่
พบเต่าหญ้าเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดคลองนิน จ.กระบี่
16 กันยายน 2567