วันที่ 11 มกราคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่5 (สงขลา) ลงพื้นที่สำรวจสถานภาพชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในระบบหาดอ่าวปากพนัง และระบบหาดแหลมตะลุมพุก-แหลมสมิหลา จากการสำรวจพบว่าบริเวณด้านทิศเหนือของปลายแหลมตะลุมพุกมีลักษณะเป็นอ่าวปากพนัง พื้นที่ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดโคลน และยังเป็นแหล่งการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ป่าชายเลนอีกด้วย และบริเวณปลายแหลมตะลุมพุกมีการสะสมตัวของตะกอนทรายเป็นลักษณะปลายแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งมีชื่อเรียกทางธรณีสัณฐานว่า สันดอนจะงอย (sand spit) เป็นสันดอนที่โผล่พ้นน้ำ มีรูปร่างยาวแคบเหมือนกับแหลมงอกยื่นยาวจากชายฝั่งออกไปในทะเล นอกจากนี้บริเวณชายหาดแหลมตะลุมพุกยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดในช่วงฤดูมรสุมและคลื่นลมแรงบริเวณด้านหลังของโครงสร้างเขื่อนหินเข้ามาในแผ่นดินประมาณ 3 ม. ตลอดของแนวโครงสร้าง อีกทั้งหาดแหลมตะลุมพุกยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย ทั้งนี้ จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปประกอบการจัดทำรายงานสภานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2566 ต่อไป
ติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ จ.จันทบุรี
พบการสะสมตัวของตะกอน การกระจายตัวของป่าชายเลน และชายหาดมีสภาพสมดุล พื้นที่หาดแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
1 กันยายน 2567