วันที่ 14 มกราคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงานทช.ที่6 (พังงา) รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังหลุมฟักไข่เต่ามะเฟือง หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมของรังที่ 1 และได้เปิดปากหลุมเพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักตัวคลานออกมา แต่พอขุดลงไปกลับพบรากไม้ที่มีขนาดใหญ่และเป็นรากฝอยเป็นจำนวนมาก จึงเร่งดำเนินการขุดรังเต่ามะเฟืองเพื่อช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุม เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไปนานมากกว่านี้ลูกเต่ามะเฟืองจะตายได้ จากนั้นได้ช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองในหลุมที่ยังแข็งแรงและนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 64 ตัว รวมถึงช่วยลูกเต่ามะเฟืองที่อ่อนแอรอการพักฟื้นในตู้ ICU Box เพื่อกระตุ้นการฟัก จำนวน 4 ตัว อีกทั้งยังพบไข่เต่ามะเฟืองที่ไม่พัฒนาจำนวน 37 ฟอง และลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอดจำนวน 1 ตัว รวมทั้งหมดแม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 106 ฟอง ทั้งนี้สำหรับรังไข่เต่ามะเฟืองรังถัดไป กรมทะเลชายฝั่งได้วางแผนนำเต่ามะเฟืองที่ได้จากการฟักตามธรรมชาติ นำมาเลี้ยงอนุบาลให้แข็งแรงในระยะเวลา 1 ปี หรือกระดองเต่ามีขนาดมากกว่า 30 เซนติเมตร ก่อนที่จะปล่อยกลับไปสู่ทะเล เพื่อให้ลูกเต่ามะเฟืองนั้นมีโอกาสในการอยู่รอดและเติบโตจนสามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้ตามธรรมชาติต่อไป
พบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบเต่าหญ้าเกยตื้นมีชีวิตพันรัดด้วยขยะทะเล บริเวณหาดไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
6 มิถุนายน 2566