วันที่ 24 มกราคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่6 (พังงา) และศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน ร่วมกันติดตามสถานการณ์หลุมฟักไข่เต่ามะเฟือง หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมรังฟักไข่รังที่ 2 ตั้งแต่เวลา 02.00 น. ของวันที่ 23 มกราคม 2566 เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด พบปากหลุมได้ยุบตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 00.24 น. ลูกเต่ามะเฟืองได้ทะยอยขึ้นปากหลุมอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ได้ช่วยเปิดปากหลุม และดำเนินการขุดช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุมนำไปปล่อยลงสู่ทะเล จำนวน 56 ตัว นำไปอนุบาลที่ ศวอบ. จำนวน 25 ตัว ลูกเต่ามะเฟืองอ่อนแอรอการพักฟื้นในตู้ ICU Box จำนวน 5 ตัว ไข่เต่ามะเฟืองที่ไม่พัฒนา จำนวน 28 ฟอง และลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอด จำนวน 4 ตัว อัตราการฟัก 76.27 % อัตราการรอดตาย 96 % ซึ่งรังไข่เต่ามะเฟืองรังที่ 2 เป็นรังที่ตรวจพบเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จำนวนไข่ 118 ฟอง นับเป็นวันที่ 55 หลังจากที่พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่
พบเต่าทะเลเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดคลองนิน จ.กระบี่
พบเต่าหญ้าเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดคลองนิน จ.กระบี่
16 กันยายน 2567