สำรวจระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี
  • 10 ก.พ. 2566
  • 407

วันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบของการระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า-2019 ต่อระบบนิเวศทางทะเล จำนวน 2 สถานี ได้แก่ เกาะเต่า (อ่าวหินวง) และเกาะนางญวน จ.สุราษฎร์ธานี โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect ผลการสำรวจพบว่าน้ำทะเลลึกประมาณ 5-10 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 27 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31 PPT ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 5-15 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea sp.) ปะการังโขดผิวยู่ยี่ ( Porites rus) ปะการังเห็ด (Fungia sp.) ปะการังเขากวางแบบกิ่ง (Acropora spp.) ปะการังสมองร่องยาว (Platygyra sp.) ปะการังลายดอกไม้ ( Pavona sp.) และพบการแตกหักของปะการังจากคลื่นลมในช่วงฤดูมรสุม จากการสำรวจอาการของโรคปะการัง พบลักษณะผิดปกติและโรคของปะการังได้แก่ การกัดกินของหอย Drupella spp. การครูดกินสาหร่ายของกลุ่มปลาสลิดหิน ปลานกแก้ว ปลาวัวอำมหิต การฟอกขาวบางส่วน จุดสีม่วงบนปะการังดอกเห็ด จุดสีชมพูบนปะการังโขด การเจาะไชของกลุ่มเพรียง หอยบนปะการัง ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลาสลิดหินหางพริ้ว (Neopomacentus anabaroides) ปลาสลิดหินหูดำ (Pomacentrus alexanderae) ปลาสลิดหินหางขาว (Pomacentrus chrysurus) ปลาสลิดหินสีน้ำตาล (Chromis cinerascens) ปลาสลิดหินเหลืองมะนาว (Pomacentrus moluccensis) ปลาผีเสื้อแปดขีด (Chaetodon octofasciatus) ปลาอมไข่ (Cheilodipterus artus) ปลากล้วยหางเหลือง (Caeiso cuning) ปลาทรายขาวเกล็ดเงิน (Scolopsis margaritifer) ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง (Phyllidia elegans) ทากเปลือยปุ่มคาดสีดำ (Phyllidia picta) และขยะที่ตกค้างในแนวปะการัง พบขยะไม่มากส่วนใหญ่พบขยะที่มาจากกิจกรรมทางการประมง เช่น เศษอวน และเชือก และได้ทำการเก็บเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง