วันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง สำรวจสถานภาพแนวปะการัง โดยวิธี Line intercept transect บริเวณเกาะงั่ง เกาะปอ และเกาะลันตาใหญ่ฝั่งทิศตะวันตก จ.กระบี่ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าสถานภาพปะการังอยู่ในระดับสมบูรณ์ปานกลาง สมบูรณ์ดีและเสียหายมาก ตามลำดับ ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังช่องเล็ก (Montipora spp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังวงแหวน (Dipsastraea spp.) กลุ่มปลาชนิดเด่น ได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) และปลาสลิดหินเล็กท้ายเหลือง (Neopomacentrus cyanomos) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดเด่น ได้แก่ เม่นทะเลชนิด เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) เม่นดำหนามสั้น (Echinotrix calamaris) และดอกไม้ทะเล (Heteractis sp.) และพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสีของปะการัง (Pigmentation response) การเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อม ได้แก่ ปะการังฟอกขาว เป็นจุด เส้น และรูปแบบไม่แน่นอน และปะการังบริเวณเกาะลันตาใหญ่ด้านฝั่งตะวันตกถูกปกคลุมด้วยตะกอนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นแนวปะการังใกล้ฝั่ง นอกจากนี้ พบขยะประเภทเศษเชือกพันรัดก้อนปะการัง และพบขยะจากกิจกรรมทางการประมง เช่น เอ็นตกปลาและเศษอวนบริเวณแนวปะการัง
