วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รองอธิบดีพรศรี สุทธนารักษ์ พร้อมด้วย นายมงคล ไข่มุกต์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 นายเกรียง มหาศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 และผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการการสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย (Increasing resilience to climate change impacts in marine and coastal areas along the Gulf of Thailand) ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุม ในการนี้มี Mr. Renaud Mayer Resident Representative, Thailand ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงาน Green Climate Fund กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมการท่องเที่ยว กรมประมง กรมโยธาธิการและผังเมือง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วม ณ ห้องประชุม Sapphire Suite ชั้น 7 โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ และประชุมผ่านระบบทางไกล VDO Conference
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันเพื่อพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการฯ แผนจัดจ้างที่ปรึกษา แผนการจัดการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการและสัมมนา ภายใต้โครงการฯ ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งพิจารณาความก้าวหน้าในการดำเนินงานของที่ปรึกษาโครงการฯ ในนำเสนอผลการดำเนินงานของที่ปรึกษาโครงการฯ กิจกรรมการทบทวน NAP แบบมีส่วนร่วมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางเลือกในการปรับตัว เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดทำแผนผังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมทั่วถึงทุกภาคส่วน และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ อีกทั้งการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ การศึกษาดูงานประเทศที่เลือกในเอเชียใต้ / ตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้ง ยังมีการวิเคราะห์ต้นทุน -กำไรของทางเลือกการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Cost - Benefit Analysis: CCBA) ด้วยการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (Multi Criteria Analysis: MCA) และจัดลำดับความสำคัญของมาตรการทางเลือกต่าง ๆ ที่ใช้ในพัฒนาแนวทางปฏิบัติและสนับสนุนการบูรณาการการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเข้าไว้ในแผนการรับรอง และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ทางทะเลและพื้นที่ขายฝั่ง โดยได้พัฒนากลยุทธ์การจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินการและการยกระดับ NAP มุ่งเน้นภาคที่มีความสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การท่องเที่ยว การเกษตร การประมง และร่างแนวคิดโครงการ GCF อย่างน้อยสองรายการ ซึ่งรวมถึงภาคเอกชน C5Os และชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย
