วันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง จำนวน 5 สถานี ได้แก่ เกาะสมุย (แหลมโจรคร่ำและบ้านตลิ่งงาม) เกาะมัดสุ่ม (ทิศเหนือ และทิศตะวันออก) และเกาะกะเต็น ทิศตะวันออก และเก็บ Data logger โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect ผลการสำรวจพบว่าน้ำทะเลลึกประมาณ 3-7 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 2-4 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายลูกฟูก (Pachyseris speciosa) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลาสลิดหินเทาหางพลิ้ว (Neopomacentrus filamentosus) ปลาสลิดหินเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลากล้วยหางเหลือง (Caesio cuning) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) ปลาอมไข่ (Archamia bleekeri) ปลานกแก้วสีเพลิง (Scarus ghobban) โรคและอาการที่พบในปะการังได้แก่ โรคแถบเหลือง (YBD) บนปะการังโขดและปะการังช่องดาว อาการเนื้อเยื่ออักเสบเป็นจุดและปื้นชมพู การชอนไชของเพรียง และหอยเจาะบนปะการัง ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง (Phyllidia elegans) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) และขยะที่ตกค้างในแนวปะการังส่วนใหญ่เป็นขยะที่มาจากกิจกรรมทางการประมง เช่น เศษอวน และเชือก และได้ทำการเก็บเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
