วันที่ 2 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่5 (สงขลา) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่งจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านหน้าทวด ม.6 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทย และอันดามัน ตามประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 2 (26/2566) จากการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณบ้านหน้าทวด ม.6 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไปทางด้านทิศเหนือ มีระยะทางการกัดเซาะชายฝั่งประมาณ 243 เมตร ส่งผลกระทบทำให้ชายฝั่งปรากฏเป็นลักษณะของหน้าผาลึกประมาณ 1 เมตร และต้นมะพร้าวบริเวณชายฝั่งทะเลล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจย้อนหลังช่วงวันที่ 11 มกราคม 2566 สังเกตได้ว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวมีตะกอนทรายเข้ามาสะสมเป็นจำนวนมากทำให้ชายหาดมีความกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะดำเนินการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเล เพื่อวิเคราะห์และจัดทำรายงานฯ ต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต่อไป พร้อมทั้งจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2566 จังหวัดนครศรีธรรมราช และรายงานให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทราบ ต่อไป
ติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ จ.จันทบุรี
พบการสะสมตัวของตะกอน การกระจายตัวของป่าชายเลน และชายหาดมีสภาพสมดุล พื้นที่หาดแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
1 กันยายน 2567