วันที่ 1 – 3 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนล่าง ปฏิบัติงานติดตามการฟื้นตัวของหญ้าทะเลจากกิจกรรมขุดลอกร่องน้ำบริเวณอ่าวปัตตานี ครอบคลุมพื้นที่ศักยภาพหญ้าทะเล 2,365 ไร่ ผลการดำเนินงานพบหญ้าทะเล 4 ชนิด คือ หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis) หญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) และหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) โดยพื้นที่หญ้าทะเลส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการขุดลอกสันทรายในพื้นที่ ยกเว้นแหล่งหญ้าทะเลบ้านดาโต๊ะ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่มีกิจกรรมการขุดลอกมากที่สุด และเป็นพื้นที่รองรับตะกอน โดยพบตะกอนดินปกคลุมบริเวณแนวหญ้าทะเลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เริ่มมีสาหร่ายขึ้นปกคลุม ซึ่งอาจทำให้ใบหญ้าทะเลเน่าเสียได้ คุณภาพน้ำทะเลทั่วไป ความเค็ม 19 - 25 พีพีที ออกซิเจนละลายน้ำ 5.87 - 6.36 มิลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรด - ด่าง 7.83 – 8.12 อุณหภูมิ 26.3 – 27.2 องศาเซลเซียส ความลึก 0.9 – 1.2 เมตร ความโปร่งแสง 0.9 – 1.2 เมตร
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567