วันที่ 11 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อเวลาประมาณ 17:20 น. พบการขึ้นเกยหาดของปลาทะเลจำนวนมาก บริเวณชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี พบว่าชนิดปลาที่ขึ้นเกยหาดเป็นปลาชนิดเดียวกันเกือบทั้งหมดและมีขนาดตัวใกล้เคียงกัน จึงคาดว่ามีที่มาจากการทำประมง โดยอาจหลุดจากเครื่องมือทำการประมง ชนิดปลาที่พบ คือ ปลาตะเพียนน้ำเค็ม หรือ ปลาโคก หรือ ปลามักคา (อังกฤษ: Shortnose gizzard shad, Chacunda gizzard shad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anodontostoma chacunda) เป็นปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) เป็นปลาที่พบได้ตามธรรมชาติ และทางเทศบาลเมืองแสนสุขได้ดำเนินการทำความสะอาดบริเวณชายหาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลคุณภาพน้ำเบื้องต้นจากสถานีตรวจวัดน้ำอัตโนมัติที่ศรีราชาซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้เคียงมากที่สุดข้อมูลวันที่ 11 มีนาคม 2566 เวลา 17:00 น. อุณหภูมิ 29.32 °C ความเค็ม 31.70 PSU ความอิ่มตัวออกซิเจนละลายในน้ำ 270.30% ความเป็นกรด-ด่าง 8.33 ซึ่งผลคุณภาพน้ำโดยรวมอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการนันทนาการ
พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ระยอง
พบสภาพน้ำมีสีน้ำตาล ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น พบสัตว์น้ำตายเล็กน้อย บริเวณคลองน้ำหู อ.เมือง จ.ระยอง
14 กันยายน 2567