วันที่ 16-17 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในพื้นที่เกาะกาและเกาะศรีบอยา จ.กระบี่ และเกาะยา จ.ตรัง ผลการติดตามพบว่าปะการังบริเวณเกาะกาและเกาะศรีบอยาเริ่มมีสีซีดจางร้อยละ 10 ของปะการังมีชีวิตในพื้นที่สำรวจ (พื้นที่สำรวจ 750 ตารางเมตร) ที่ระดับความลึกน้ำ 0.5-2 เมตร โดยชนิดของปะการังที่มีสีซีดจาง คือ ปะการังโขด (Porites lutea) ส่วนปะการังบริเวณเกาะยาเริ่มมีสีซีดจางร้อยละ 5 ของปะการังมีชีวิตในพื้นที่สำรวจ (พื้นที่สำรวจ 500 ตารางเมตร) ที่ระดับความลึกน้ำ 4 เมตร โดยชนิดของปะการังที่มีสีซีดจาง คือ ปะการังโขด (Porites lutea) เช่นเดียวกัน คุณภาพน้ำทะเล อุณหภูมิ 28-29 องศาเซลเซียส ความเค็ม 32 ppt. ความเป็นกรด-ด่าง 7.9-8.1 โดยเมื่อเทียบข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลกับภาพดาวเทียมแสดงแนวโน้มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการแจ้งเตือนปะการังฟอกขาวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันจากเว็บไซต์ระบบการประเมินการเกิดปะการังฟอกขาวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปัจจุบันล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2566 พบว่าอยู่ในระดับ “No stress” สอดคล้องกับข้อมูลจากเว็บไซต์ NOAA Satellite and Information Service, Coral Reef Watch พบว่าอยู่ในระดับ “No stress” อย่างไรก็ตาม จะดำเนินการติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวและอุณหภูมิน้ำทะเลอย่างต่อเนื่องต่อไป
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567