สำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ จ.ตรัง
  • 23 มี.ค. 2566
  • 457

วันที่ 17-21 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ร่วมกับ ศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก โดยการสนับสนุนของท่าอากาศยานตรัง และสนามบินภูเก็ตแอร์พาร์ค ออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่ จ.ตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และวิธีการสำรวจทางเรือโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร นาย Eduardo Angelo Loigorri และคุณภิญญดา ภิธัญสิริ ณ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์และหมู่เกาะใกล้เคียง จ.ตรัง ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูนไม่น้อยกว่า 180 ตัว (พะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 12 คู่) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific Humpback Dolphin, Sousa chinensis ) 19 ตัว และเต่าทะเล 174 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล และพฤติกรรมการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ รวมถึงโลมาหลังโหนกและเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดตรังต่อไป

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง