สำรวจสถานภาพปะการังเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี
  • 1 เม.ย. 2566
  • 415

วันที่ 27-31 มีนาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง บริเวณเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 4 สถานี ได้แก่ เกาะเต่า (อ่าวกล้วยเถื่อน) เกาะเต่า (อ่าวโฉลกบ้านเก่า) เกาะเต่า (อ่าวแหลมเทียน) และเกาะกงทรายแดง และเก็บ Data logger โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect ผลการสำรวจพบว่าน้ำทะเลลึกประมาณ 5-10 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 15-20 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังเขากวางแบบกิ่ง (Acropora spp.) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea sp.) ปะการังเห็ด (Fungia sp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) และบางพื้นที่ปะการังมีสีซีดจาง ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลาสลิดหินหางขลิบดำ (Chromis ternatensis) ปลาสลิดหินคอดำ (Dascyllus reticulatus) ปลากล้วยฟ้าหลังเหลือง (Caesio xanthonota) ปลานกแก้วหน้าลาย (Scarus riyulatus) ปลาโนรีครีบยาว (Heniachus acuminatus) ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง(Phyllidia elegans) ทากปุ่มกลมดำ (Phyllidiella nigra) และพบขยะตกค้างในแนวปะการังที่สำรวจ พบเป็นเศษอวนและเชือกอยู่ในสภาพเก่าส่วนใหญ่อยู่บนซากปะการัง พื้นทรายและปะการัง

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง