วันที่ 10 เมษายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง สำรวจและติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว โดยวิธีสุ่มสำรวจ (Spot check) และติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามน้ำทะเลแบบต่อเนื่อง (Data Temperature logger) บริเวณเกาะยา จ.ตรัง ผลการติดตามพบว่าปะการังส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะปกติ ไม่พบปะการังฟอกขาวตลอดแนวความลึก อุณหภูมิของน้ำทะเลมีค่าเฉลี่ย 30.49 ± 0.80 องศาเซลเซียส (ระหว่างวันที่ 17 มีนาคม – 10 เมษายน 2566) ความเค็ม 32 พีพีที ความเป็นกรด-ด่าง 8.14 โดยเมื่อเทียบข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลกับภาพดาวเทียมแสดงแนวโน้มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการแจ้งเตือนปะการังฟอกขาวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันจากเว็บไซต์ระบบการประเมินการเกิดปะการังฟอกขาวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปัจจุบันล่าสุดวันที่ 8 เมษายน 2566 พบว่าอยู่ในระดับ “No stress” ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ NOAA Satellite and Information Service, Coral Reef Watch พบว่าอยู่ในระดับเฝ้าระวัง Watch โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ จะดำเนินการติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวและอุณหภูมิน้ำทะเลอย่างต่อเนื่องต่อไป
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567