สำรวจประเมินสถานภาพปะการังโดยวิธี Line intercept transect ในพื้นที่เกาะเล่าปี่และกองหินเล่าปี่ จ.ปัตตานี
  • 22 เม.ย. 2566
  • 455

วันที่ 18 – 21 เมษายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ปฏิบัติงานสำรวจประเมินสถานภาพปะการังโดยวิธี  Line intercept transect  พื้นที่เกาะเล่าปี่และกองหินเล่าปี่ (ปัตตานี) พบสถานภาพปะการังอยู่ในเกณฑ์สมบูรณ์ดีถึงสมบูรณ์ดีมาก ไม่พบการเกิดปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเล 29-30 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31 พีพีที ความลึกน้ำ 14 - 20 เมตร ปะการังชนิดเด่นคือ ปะการังโขด (Porites sp.) ส่วนปะการังที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่ ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites sp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea sp.) ปะการังวัยอ่อนกลุ่มเด่นคือปะการังโขด (Porites sp.) และพบโรคเนื้องอกสีชมพูในกลุ่มปะการังโขด ชนิดปลาที่พบได้มากในแนวปะการัง ได้แก่ ปลากล้วยหางเหลือง (Caesio cuning) ปลากล้วยแถบเขียว (Caesio caerulaurea) ปลาสลิดหินหางพริ้ว (Naopomacentrus filamentosus) และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่พบ คือกลุ่มเม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ปลิงสร้อยไข่มุก (Synapta maculata) และทากปุ่ม (Phyllidia varicosa) สัตว์น้ำหน้าดินกลุ่มอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ ฟองน้ำ กัลปังหา และดอกไม้ทะเล นอกจากนี้ยังพบขยะตกค้างจากกิจกรรมประมง เช่น เชือกเรือ เศษอวน และเอ็นตกปลา และเจ้าหน้าที่ได้เก็บกู้ออกจากแนวปะการังเรียบร้อยแล้ว

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง