วันที่ 18-23 เมษายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง พร้อมด้วยเจ้าหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ได้ร่วมออกปฏิบัติงานสำรวจ ประเมินสถานภาพของหญ้าทะเลโดยวิธีวาง Line transect และ Spot check พร้อมสำรวจความหลากหลายของสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณบ้านปากบาราและกลุ่มเกาะลิดี จ.สตูล ผลการสำรวจสถานภาพหญ้าทะเลในพื้นที่หญ้าทะเลรวมทั้งหมด 717 ไร่ บริเวณบ้านปากบาราพบหญ้าทะเลจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) และหญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) หญ้าทะเลชนิดเด่นในพื้นที่ คือ หญ้าเงาแคระ สถานภาพโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์ปานกลาง บริเวณกลุ่มเกาะลิดีพบหญ้าทะเลจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata) หญ้าใบมะกรูด (Halophila ovalis) หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) หญ้าเงาใบใหญ่ (Halophila major) หญ้าเงาใส (Halophila decipiens) หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) หญ้ากุยช่ายทะเล (Halodule uninervis) หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) หญ้าชะเงาปลายใบมน (Cymodocea rotundata) หญ้าทะเลชนิดเด่นในพื้นที่ คือ หญ้าใบมะกรูดและหญ้าเงาใส สถานภาพโดยรวมอยู่ในระดับสมบูรณ์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนกระจายทั่วบริเวณเกาะลิดีใหญ่ด้านตะวันออก สัตว์น้ำชนิดเด่นที่พบบริเวณแหล่งหญ้าทะเลในทั้งสองพื้นที่ คือ ปลิงดำ (Holothuria atra) ดาวทราย (Astropecten bengalensis) หอยชักตีน (Strombus canarium) กลุ่มปลาชนิดเด่น ได้แก่ ปลาสลิดทะเลจุดขาว (Siganus canaliculatus) และปลากระทุงเหวปากแดง (Hyporhamphus limbatus) คุณภาพน้ำ ความลึก 0.1 - 3 เมตร อุณหภูมิ 30-31 องศาเซลเซียส ความเค็ม 31 พีพีที ความเป็นกรด - ด่าง 7.5-8.1 ขยะทะเลในแหล่งหญ้าทะเลที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ถุงและขวดพลาสติก ขวดแก้ว และเศษอวน
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567