วันที่ 24 เมษายน 2566 รองอธิบดีพรศรี สุทธนารักษ์ ร่วมประชุมการจัดทำรายงานเศรษฐกิจสีน้ำเงินแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรรม ปี 2565 (National Blue Economy Report 2022: Part - Science Research and Innovation) ผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ (Zoom) โดยมี ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้กล่าวเปิดการประชุม และนำเสนอโครงร่างรายงานเศรษฐกิจสีน้ำเงินแห่งชาติฯ ซึ่งการประชุมที่ผ่านมา มีการจัดทำภาพรวม Thailand Blue Economy Report: ประสบการณ์ ตัวแบบ และแนวทางการขับเคลื่อน ได้ดำเนินงานด้าน Blue economy และทะเลในภาพรวม มีกิจกรรมหลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย Challenges ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Disaster) และ Pressure ข้อตกลงอนุสัญญาระหว่างประเทศ ทั้ง 2 กิจกรรม มีออกแบบการทำงานโดยอาศัยองค์ความรู้หลายส่วนที่เป็นจุดแข็งของงานเดิมที่มีอยู่ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมองมิติทางทะเลหลายส่วน เช่น การบริหารจัดการ การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ธุรกิจ การส่งออก การท่องเที่ยว การคมนาคมและขนส่ง กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (Policy advocacy) โดยการขับเคลื่อนระดับ Policy maker Public Network และ Data information knowledge นอกจากนี้ การประชุม Blue Economy Forum ให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันและนำองค์ความรู้จากต่างประเทศเข้ามาสนับสนุนงานทางวิชาการด้วย และมองว่างานด้าน Blue Economy Report/Blue Carbon Brief Report มีความสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันยังขาดการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสภาความมั่นคงแห่งชาติ การจัดทำ Blue Economy Report ของต่างประเทศ ที่น่าสนใจคือ EU Blue Economy Report ประเด็นที่สำคัญของ EU คือ ข้อมูลที่ EU นำเสนอจะเป็นภาพใหญ่และกว้าง เป็นการเชื่อมโยงจากหลายภาคส่วนที่ต้องอาศัยการทำงานที่เชื่อมโยงสอดคล้องกันรับกับทิศทางการพัฒนาของประเทศต่อไปฝ
ติดตามการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
ติดตามการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่อ่าวหลา อ่าวทือ อ่าวขอนแค และอ่าวปะตก เกาะราชาใหญ่ จ.ภูเก็ต
17 กันยายน 2567