วันที่ 26 เมษายน 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่10 (กระบี่) ลงพื้นที่ตรวจสอบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณพื้นที่ชายหาดป่าตอง ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง และชุมชนในพื้นที่ ตามที่เพจ Phuket Times ได้ลงผ่านสื่อโซเซียล เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 66 พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณพื้นที่ชายหาดป่าตอง จึงประสานงานให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบปรากฏว่า เป็นปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬหรือแพลงก์ตอนบลูม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล สีแดง หรือสีเขียว เป็นต้น เนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมหาศาลของสาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล ทำให้เห็นน้ำทะเลเป็นสีที่ต่างออกไปจากเดิม ปรากฏการณ์นี้อาจเป็นอันตรายต่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะเล ปัจจุบันสีของน้ำทะเลได้เจือจางลงแล้ว ทั้งนี้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบนได้เก็บตัวอย่างน้ำกลับมาตรวจสอบหาสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวต่อไป
พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ระยอง
พบสภาพน้ำมีสีน้ำตาล ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น พบสัตว์น้ำตายเล็กน้อย บริเวณคลองน้ำหู อ.เมือง จ.ระยอง
14 กันยายน 2567