วันที่ 18-28 เมษายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง สำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect และวิธี Spot Check พื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 12 สถานี ได้แก่ เกาะพะงัน (อ่าวแม่หาด) เกาะพะงัน (หาดยาว) เกาะพะงัน (อ่าววกตุ่ม) เกาะกงนุ้ย เกาะพะงัน (บ้านใต้) เกาะพะงัน (แหลมหาดริ้น) เกาะราบ ทิศเหนือ เกาะราบ ทิศตะวันตก เกาะวังใน ทิศตะวันตก หินน้ำลาย ทิศเหนือ เกาะมัดสุ่ม ทิศใต้ เกาะหินลาใหญ่ และเก็บ Data logger ผลการสำรวจพบว่าน้ำทะเลลึกประมาณ 3-7 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 30-31 องศาเซลเซียส ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 5-15 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายลูกฟูก (Pachyseris speciosa) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites sp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปลาที่พบในแนวปะการัง ปลิดสลิดหินเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabotoides) ปลากล้วยหางเหลือง (Caesio cuning) ปลาผีเสื้อแปดขีด (Chaetodon octofasciatus) ปลาอมไข่ลายหางจุด (Apogon cookii) ปลาอมไข่ลายทแยง (Toeniamia fucata) ปลานกขุนทองลายจุด (Halichoeres argus) ปลากระรอกแดง (Sargocentron cubrum) ปลาสลิดหินสีน้ำตาล (Chromis cinerascens) ปลาทรายขาวเส้นขาว (Scolopsis cilliata) ปลาสลิดหินเล็กหางพริ้ว (Neopomacentrus filamentosus) โรคและอาการที่พบในปะการังได้แก่จุดชมพูบนปะการังโขด และโรคแถบเหลือง (YBD) บนปะการังช่องดาว อาการเนื้อเยื่ออักเสบเป็นจุดและปื้นชมพู การชอนไชของเพรียง และหอยเจาะบนปะการัง ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) ทากเปลือยปุ่มขาวเหลือง (Phyllidia elegans) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) และขยะที่ตกค้างในแนวปะการังส่วนใหญ่เป็นขยะที่มาจากกิจกรรมทางการประมง เช่น เศษอวน เชือก ได้ทำการเก็บเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และบางพื้นที่มีตะกอนปกคลุมปะการัง และพบปะการังมีการเปลี่ยนสี
ร่วมจับปลาหมอคางดำ พื้นที่ จ.สมุทรสาคร
ร่วมกิจกรรมลงแขกลงคลองจับปลาหมอคางดำ ณ คลองหนองนกไข่ ต.หนองนกไข่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
9 กันยายน 2567