วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่5 (สุราษฎร์ธานี) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานภาพชายฝั่งช่วงฤดูหลังมรสุมและคลื่นลมแรง ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ มีความยาวชายฝั่งทะเล 4.77 กม. จากการสำรวจพบว่าบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.เทพา ในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมาพบพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ระยะทางรวมประมาณ 1.66 กม. ส่งผลทำให้ชายหาดบางพื้นที่มีความลาดชัน ปรากฏเป็นลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน และลดระดับลงตามแนวชายฝั่งห่างออกไป บางพื้นที่มีการกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินเกือบถึงถนน ส่งผลกระทบให้ต้นไม้ล้มตาย กีดขวางบริเวณชายหาดจำนวนมาก ปัจจุบันพบว่ายังคงพบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งเดิม และมีตะกอนทรายเข้ามาสะสมเป็นจำนวนมากทำให้หน้าหาดกว้างขึ้น และส่งผลทำให้เกิดเนินทรายขนาดเล็ก บนหาดทรายเดิม ซึ่งเป็นการฟื้นฟูเนินทรายชายหาดตามธรรมชาติ ทั้งนี้พื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง – แหลมขาม ของสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) อีกด้วย ทั้งนี้ จะดำเนินการติดตามสถานการณ์และผลกระทบต่อชายฝั่งทะเล เพื่อวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการจัดทำรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลประจำปี 2566 จังหวัดสงขลาต่อไป
ติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ จ.จันทบุรี
พบการสะสมตัวของตะกอน การกระจายตัวของป่าชายเลน และชายหาดมีสภาพสมดุล พื้นที่หาดแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
1 กันยายน 2567