วันที่ 30 พ.ค. – 2 มิ.ย 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนล่าง ปฏิบัติงานสำรวจประเมินสถานภาพปะการังโดยวิธี Line intercept transect บริเวณเกาะขาม เกาะหนู และเกาะแมว จ.สงขลา ซึ่งทั้ง 3 บริเวณ พบปะการังฟอกขาว และสีซีดลง เช่น ปะการังโขด (Porites sp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp.) และปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) อุณหภูมิน้ำทะเล 31-32 องศาเซลเซียส สถานภาพปะการังบริเวณเกาะแมว (ทิศใต้) และเกาะหนู (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ปะการังอยู่ในสภาพเสียหาย ส่วนบริเวณเกาะขามพบปะการังอยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ดีถึงสมบูรณ์ดีมาก ปะการังชนิดเด่นคือ ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) ปะการังที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่ ปะการังจาน (Turbinaria sp.) ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่คือ ตัวอ่อนปะการังจาน (Turbinaria sp.) โรคปะการังที่พบ เช่น โรควงฟอกขาว และเนื้อเยื่อปะการังผิดปกติ ชนิดปลาที่พบมาก ได้แก่ ปลาสลิดหินเล็กท้ายเหลือง และปลากล้วยหางเหลือง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่พบได้มากคือทากเปลือยทองหยิบ และเม่นดำหนามยาว พบขยะในแนวปะการังส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากกิจกรรมประมง เช่น เชือกเรือ เศษอวน และเอ็นตกปลา
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567