วันที่ 15 มิถุนายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว โดยวิธีสุ่มสำรวจ (Spot check) และติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามน้ำทะเลแบบต่อเนื่อง (Data Temperature logger) บริเวณเกาะยา จ.ตรัง ผลการติดตามในภาพรวม พบว่าปะการังยังคงมีสีซีดจางเฉลี่ยร้อยละ 1-5 ของปะการังมีชีวิตในพื้นที่สำรวจ ที่ระดับความลึกน้ำ 3 – 5 เมตร โดยปะการังที่มีสีซีด ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด อุณหภูมิของน้ำทะเลมีค่าเฉลี่ย 31.04±0.48 องศาเซลเซียส (ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2566 ) ความเค็ม 30 พีพีที ความเป็นกรด-ด่าง 8.06 โดยเมื่อเทียบข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลกับภาพดาวเทียมแสดงแนวโน้มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการแจ้งเตือนปะการังฟอกขาวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันจากเว็บไซต์ระบบการประเมินการเกิดปะการังฟอกขาวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปัจจุบันล่าสุดวันที่ 13 มิถุนายน 2566 พบว่าอยู่ในระดับ Watching 1 และข้อมูลจากเว็บไซต์ NOAA Satellite and Information Service, Coral Reef Watch พบว่าอยู่ในระดับ Watch อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ จะดำเนินการติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวและอุณหภูมิน้ำทะเลทุก ๆ 15 วัน อย่างต่อเนื่องต่อไป
ติดตามสถานภาพปะการัง พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาว บริเวณแหลมคอกวาง เขาพลายดำ จ.นครศรีธรรมราช
7 กันยายน 2567