วันที่ 22 มิถุนายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนกลาง ดำเนินการตรวจสอบกรณีปลาตาย บริเวณหาดทุ่งวัวแล่น ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ผลการตรวจสอบพบว่า น้ำทะเลมีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็น จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น พบว่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 2.21 – 3.46 mg/l ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทะเล ที่มีค่า 4 mg/l ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบเบื้องต้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบแพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอม ชนิด Chaetoceros sp. Coscinodiscus sp. Bacteriastrum sp. ซึ่งแพลงก์ตอนกลุ่มนี้ไม่สร้างสารพิษ แต่เมื่อตายลงทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และเกิดสภาวะขาดออกซิเจน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าปลาทะเลตายขึ้นมาเกยหาดบริเวณนี้มีเกือบทุกปี ปริมาณมากน้อยต่างกัน โดยปีนี้มีปริมาณค่อนข้างเยอะ ชาวบ้านเรียกว่า ปลาตายน้ำแดง ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน โดยปลาตายที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปลาแป้น ปลาดอกหมาก และปลาอมไข่ โดย ศวทก. ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหาร ในห้องปฏิบัติการต่อไป
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567